นิสิตภาควิชาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการสารสนเทศ มมส คว้า 3 รางวัล จากโครงการประกวดการออกแบบแผนที่ภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Geographical Map-Designed Exhibition and Contest of Thailnad)

นิสิตภาควิชาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คว้า 3 รางวัล จากโครงการประกวดการออกแบบแผนที่ภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Geographical Map-Designed Exhibition and Contest of Thailnad) รูปแบบออนไลน์บนแพลตฟอร์มเมตาเวิร์ส spatial.io จัดโดยสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมการแผนที่แห่งประเทศไทย และสาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สนับสนุนโดย สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สสวทท)

โดยมีเกณฑ์ในการแข่งขัน คือ ผู้เข้าร่วมแข่งขันในโครงการต้องระบุหัวข้อ เนื้อหาและรายละเอียดของแผนที่ที่ต้องการนําเสนอ โดยระบุ รายละเอียดต่อไปนี้ เช่น เรื่องราวความเป็นมาของแผนที่ แหล่งที่มาของข้อมูล สถิติที่นํามาใช้ในการแสดง ข้อมูล และการสื่อความหมายของสีและสัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่ รวมถึงจุดเด่นที่น่าสนใจของแผนที่ เป็นต้น
และนิสิตภาควิชาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คว้า 3 รางวัล ประเภทการจัด legibility & balance ระดับปริญญาตรี จากโครงการประกวดการออกแบบแผนที่ภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Geographical Map-Designed Exhibition and Contest of Thailnad) รูปแบบออนไลน์บนแพลตฟอร์มเมตาเวิร์ส spatial.io โดยมีอาจารย์ธีรญา อุทธา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ดังนี้

รางวัล “ยอดเยี่ยม”
จากทีม “พลัง GISAMSU” โดยมีสมาชิกในทีม คือ นายนรภัทร ผาบุญ นางสาวกฤติยา ทิพย์พันดุง

รางวัลประเภท “ดีเด่น”
จากทีม “กล้วย กล้วย” โดยมีสมาชิกในทีม คือ นางสาวปริญนา ยินดี นางสาวกนกวรรณ ชาญนรา

รางวัลประเภท “ดี”
จากทีม ” GISMSU ” โดยมีสมาชิกในทีม นายกฤตภาส อ่อนสี นายปฏิพัทธ์ หายทุกข์

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการแข่งขันในครั้งนี้
1. การนำเสนอข้อมูล GIS ให้บุคคลทั่วไป เข้าใจได้ง่ายด้วย “แผนที่เพียงหน้าเดียว” ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะข้อมูล GIS จริง ๆ แล้ว เป็นฐานข้อมูลไม่ใช่แค่ภาพ ทำให้จะต้องมีการวิเคราะห์ สรุปข้อมูล ออกแบบและวาง Layout ขององค์ประกอบให้เหมาะสม ในการทำงานครั้งนี้ พบว่า มีออกแบบ รื้อทำใหม่หลายรอบ กว่าจะลงตัว ซึ่งเป็นงานที่สนุก ท้าทาย ที่จะทำให้แผนที่หน้าเดียวนั้นอธิบายข้อมูลได้ครบถ้วนอย่างที่ต้องการ
2. ได้มีประสบการณ์ใหม่กับการนำเสนอผลงานวิชาการในแพลตฟอร์มแบบ Metaverse เป็นรูปแบบที่สนุกสนาน เหมือนเล่นเกมส์มากกว่างานวิชาการ
3. มีโอกาสได้เห็นแนวทางการทำแผนที่ด้วยซอฟต์แวร์ที่หลากหลายจากสถาบันการศึกษาอื่น ๆ

ที่มา: https://news.msu.ac.th/msumagaz/smain/readpost.php?mid=475

Comments are closed.