ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์

Home เกี่ยวกับคณะวิทยาการสารสนเทศ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์

ปรัชญา

“วิทยาการสารสนเทศเพื่อสังคม”

วิสัยทัศน์

พัฒนาการศึกษาที่ได้มาตรฐานที่ขับเคลื่อนด้วยคุณภาพของหลักสูตร การวิจัย และบริการวิชาการที่เน้นการพัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการเป็นผู้ประกอบการ”

ตัวชี้วัดวิสัยทัศน์

  1. ผลการประเมินประกันหลักสูตร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกหลักสูตร
  2. มีหลักสูตรนานาชาติที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 1 หนึ่งหลักสูตร
  3. มีหลักสูตรที่มีรายวิชาที่เป็นการบูรณาการงานวิจัยหรือบริการวิชาการที่เน้นการพัฒนาทักษะวิชาชีพ อย่างน้อยหลักสูตรละ 1 รายวิชา
  4. การผลิตบัณฑิตวัดจากร้อยละของนิสิตที่ได้งานทำภายใน 1 ปี ร้อยละ 80 และผลประเมิน ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ระดับดีมาก
  5. มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล SCOPUS หรือ ISI เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
  6. วางกลยุทธ์และแผนในการเพิ่มจำนวน Citations
  7. ส่งเสริมให้เกิด Research Unit หรือ Center of Excellence ของคณะวิทยาการสารสนเทศ

พันธกิจ

  • ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ที่มีคุณภาพ
  • ผลิตงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์
  • ให้บริการวิชาการแก่สังคม

สมรรถนะหลัก “IT”

การจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการตามศาสตร์ของวิทยาการสารสนเทศ

  • I = Integration of Informatics in Teaching, Researching and Academic Servicing การบูรณาการ การสอน การวิจัย และการบริการวิชาการตามศาสตร์ของวิทยาการสารสนเทศ
  • T = Technology for all สร้างสรรค์เทคโนโลยีสำหรับทุกคน

อัตลักษณ์

  • IT FOR ALL ไอทีกับการช่วยเหลือชุมชนและสังคม

เอกลักษณ์

  • การเป็นที่พึ่งของสังคมด้านไอที

ค่านิยมองค์กร

INSPIRED หมายถึง แรงบัลดาลใจ

  • I : Impact สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ
  • N : Novelty ความคิดใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร งานวิจัย และงานสร้างสรรค์
  • S : Sustainability การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
  • P : People with Empathy and Compassion สร้างสรรค์ความสัมพันธ์อันดีในองค์กร
  • I : Inclusion การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ภายใต้เป้าหมายเดียวกัน
  • R : Reduced Inequality ลดความเหลื่อมล้ำ
  • E : Environment การมีสภาพแวดล้อมต่อการเรียนและการทำงานที่เหมาะสม
  • D : Dedication ยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพ

ประเด็นยุทธศาสตร์

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานและคุณภาพของชาติ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าทางวิชาการและมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การให้บริการวิชาการแก่สังคม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีสาน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการคณะให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล