การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน
โครงสร้างคณะวิทยาการสารสนเทศ ประกอบด้วย 2 ส่วน
1.สำนักงานเลขานุการคณะ มีหัวหน้าสำนักงาน เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของสำนักงาน มีการแบ่งส่วนงานภายในประกอบด้วย 3 ส่วนงาน คือ กลุ่มงานบริหาร กลุ่มงานนโยบาย แผนและคลัง และกลุ่มงานวิชาการและพัฒนานิสต
2.ภาควิชา มีหัวหน้าภาควิชาเป้นผู้บังคับบัญชาซึ่งปัจจุบันคณะฯ มีภาควิชา 6 ภาควิชา
การบริหารคณะวิทยาการสารสนเทศ มีคณบดีเป็บผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของคณะ มีรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ และมีหัวหน้าภาควิชา ดำเนินงานตามหน้าที่และรับผิดชอบตามที่คณบดีมอบหมาย นอกจากนี้คณบดีเป็นประธานคณะกรรมการประจำคณะ และประธานกรรมการบัณฑิตประจำคณะ
เผยแพร่ใน
การบริหารคณะวิทยาการสารสนเทศ
มีคณบดีเป็บผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของคณะ มีรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ และมีหัวหน้าภาควิชา ดำเนินงานตามหน้าที่และรับผิดชอบตามที่คณบดีมอบหมาย นอกจากนี้คณบดีเป็นประธานคณะกรรมการประจำคณะ และประธานกรรมการบัณฑิตประจำคณะ
เผยแพร่ใน
ผู้บริหารคณะ ประกอบด้วย
1. คณบดี
2. รองคณบดี และผู้ช่วยคณบดี
3. หัวหน้าภาควิชา
4. หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ
เผยแพร่ใน
กรรมการประจำคณะวิทยาการสารสนเทศ ประกอบด้วย
1. ประธาน (คณบดี)
2. กรรมการ ประกอบด้วย
– รองคณบดี
– หัวหน้าภาควิชา
– หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ
– กรรมกรภายนอก (1)
– กรรมการผู้ถูกแต่งตั้ง (2)
เผยแพร่ใน
อำนาจ หน้าที่คณะวิทยาการสารสนเทศ
คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นโดยสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ความเห็นชอบตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ 2550 โดยได้รับรองคณะวิทยาการสารสนเทศเป็นหน่วยงานภายในที่ดำเนินงานจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 โดยมีการแบ่งส่วนงานภายใน โดยมีอำนาจหน้าที่
- สำนักงานเลขานุการ มีภารกิจในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มงาน คือ
- กลุ่มงานบริหาร
- กลุ่มงานนโยบายแผนและคลัง
- กลุ่มงานพัฒนานิสิต มีภารกิจในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
- ภาควิชา มีภารกิจในการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 6 ภาควิชา คือ
- ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์
- ภาควิชานิเทศศาสตร์
- ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ภาควิชาสื่อนฤมิต
- ภาควิชาภูมิสารสนเทศ
ปัจจุบันคณะวิทยาการสารสนแทศ เปิดการสอน 16 หลักสูตร คือ
ระดับปริญญาตรี 9 หลักสูตร
ระดับปริญญาโท 4 หลักสูตร
ระดับปริญญาเอก 3 หลักสูตร
เผยแพร่ใน
ที่อยู่
คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
41/20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย
จังหวัดมหาสารคาม
44150
หมายเลขโทรศัพท์
ติดต่อ จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
โทร : 06-3635-5044
ภายใน : 043-754321-40 ต่อ 5177, 5311
อีเมล/ติดตาม
เผยแพร่ใน หน้าหลักและ
ช่องทางให้บริการสอบถามคณะวิทยาการสารสนเทศ
1. Facebook Chat ให้บริการตอบคำถามแก่นิสิต บุคลากร หรือบุคคลภายนอก
2. Email: [email protected]
3. เบอร์โทรศัพท์ 06-3635-5044
ช่องทางติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม คลิก
ช่องทางสำหรับติดต่อผู้บริหาร โดยเป็น Facebook ของท่านคณบดี
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงานและงบประมาณ
อนุมัติในการประชุมครั้งที่ 1/2566 วันที่ 24 มกราคม 2566
ที่มีความต่อเนื่องจากแผนกลยุทธ์พ.ศ. 2565 – 2569 โดยค านึงถึงความสอดคล้องตามแนวนโยบายแห่งรัฐ
และนโยบายของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาของประเทศอย่างมี
ทิศทางและเป็นเอกภาพ ภายใต้ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 -2570) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
และแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) แผนพัฒนาการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2569) ฉบับปรับปรุงกันยายน 2565 คณะมุ่งขับเคลื่อน
เพื่อให้เกิดการพัฒนาและบริหารจัดการในทุกๆ ด้าน ให้เกิดความต่อเนื่องและสอดรับกับกระแสการ
เปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน และบทบาทของประเทศที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
แผนกลยุทธ์คณะวิทยาการสารสนเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 ได้รับความเห็นชอบจากประชุม
คณะกรรมการประจ าคณะวิทยาการสารสนเทศในการประชุมครั้งที่ 1/2566 วันที่ 24 มกราคม 2566
ทั้งนี้ แผนกลยุทธ์คณะวิทยาการสารสนเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 มุ่งพัฒนาคณะ ภายใต้วิสัยทัศน์
“พัฒนาการศึกษาที่ได้มาตรฐานที่ขับเคลื่อนด้วยคุณภาพของหลักสูตร การวิจัยและบริการวิชาการที่เน้น
การพัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการเป็นผู้ประกอบการ” มีเป้าหมาย ดังนี้
- ผลการประเมินประกันหลักสูตร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกหลักสูตร
- มีหลักสูตรนานาชาติที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 1 หนึ่งหลักสูตร
- มีหลักสูตรที่มีรายวิชาที่เป็นการบูรณาการงานวิจัยหรือบริการวิชาการที่เน้นการพัฒนาทักษะวิชาชีพ อย่างน้อยหลักสูตรละ 1 รายวิชา
- การผลิตบัณฑิตวัดจากร้อยละของนิสิตที่ได้งานท าภายใน 1 ปี ร้อยละ 80 และผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ระดับดีมาก
- มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล SCOPUS หรือ ISI เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
- วางกลยุทธ์และแผนในการเพิ่มจ านวน Citations
- ส่งเสริมให้เกิด Research Unit หรือ Center of Excellence ของคณะวิทยาการสารสนเทศ
คณะได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานและคุณภาพของชาติ
- เป้าประสงค์ 1.1) พัฒนาหลักสูตรให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาดและการเป็นผู้ประกอบการ
- เป้าประสงค์ 1.2) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะรองรับความต้องการของสถานประกอบการ สังคม ประเทศ และโลก
- เป้าประสงค์ 1.3) พัฒนาระบบการเรียนการสอน การเรียนรู้ตลอดชีวิต และทักษะเพื่ออนาคต
- เป้าประสงค์ 1.4) การจัดการเรียนการสอนในระดับนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 2. การเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าทางวิชาการและมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม
- เป้าประสงค์ 2.1) พัฒนาศักยภาพนักวิจัย เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก
- เป้าประสงค์ 2.2) สร้างผลงานวิจัย ที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับเพื่อผลักดันสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การให้บริการวิชาการแก่สังคม
- เป้าประสงค์ 3.1) ภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรมมีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการแข่งขัน
- เป้าประสงค์ 3.2) ชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีสาน
- เป้าประสงค์ 4.1) ส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการคณะให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Smart University)
- เป้าประสงค์ 5.1) คณะมีระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ (Smart Governance)
- เป้าประสงค์ 5.2) พัฒนาระบบการเงินการคลังและพัสดุของคณะให้เป็น (Smart Finance)
- เป้าประสงค์ 5.4) พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและการพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ (Smart People)
- เป้าประสงค์ 5.5) พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนพันธกิจของคณะ (Smart Digital)
- เป้าประสงค์ 5.6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม (Smart Living)
แผนกลยุทธ์คณะวิทยาการสารสนเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 จะเป็นแนวทางสำคัญให้ทุกหน่วยงาน
ของคณะนำไปจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี อันจะเป็นแนวทางในการทำให้เกิดผล
สัมฤทธิ์และขับเคลื่อนการพัฒนาคณะในแต่ละพันธกิจให้ไปสู่ความสำเร็จ
เอกสารต้นฉบับ https://it.msu.ac.th/wp-content/uploads/2024/02/O7-แผนกลยุทธ์คณะวิทยาการสารสนเทศ-2566-2570-1.pdf
เผยแพร่ใน
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การจัดซื้อจัดจ้าง
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
คณะวิทยาการสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นและสำคัญในการพัฒนาบุคลลากร โดยได้จัดทำนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้สอดคล้องต่อแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อให้เกิดการพัฒนาตามหลักการบริหารจัดการที่ดี ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถตอบสนองต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย ตามแผนพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับที่ 13 (ด้านการพัฒนาบุคลากร) ยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารองค์กรเพื่อความเป็น มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ เป้าประสงค์ที่ 5.4 พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและระบบการพัฒนา บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล
- 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรให้ มีประสิทธิภาพ
- 2. ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอนให้ผลิตผลงานวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม
- 3. ส่งเสริมอาจารย์ให้มีตําแหน่งทางวิชาการสูงขึ้น
- 4. ส่งเสริมอาจารย์ให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
- 5. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์/บุคลากรสาย สนับสนุนให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและ ทํางานแบบมืออาชีพ
- 6. ส่งเสริมพนักงานสายสนับสนุนให้มีตําแหน่งที่สูงขึ้น
วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนการบริหารบุคลากรคณะวิทยาการสารสนเทศ
- 1. เพื่อจัดทำแผนการบริหารบุคลากร พ.ศ. 2567 ให้สามารถตอบสนองต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย ตามแผนพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับที่ 13 (ด้านการพัฒนาบุคลากร)
- 2. เพื่อพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลของคณะให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องต่อเนื่องเชื่อมโยงยูทธศาสตร์และสามารถขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจของคณะวิทยาการสารสนเทศ
- 3. เพื่อจัดทำแผนการจัดหาและการพัฒนาบุคลากรใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ
- 4. เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุข บุคลากรมีความรักความผูกพันต่อองค์กร(Employee Engagement)
เป้าหมายการพัฒนาบุคลากร
- ร้อยละของผู้บริหารได้รับการพัฒนา เป้าหมายร้อยละ 80
- ร้อยละของอาจารย์ที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ เป้าหมายร้อยละ 56
- ร้อยละของอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก เป้าหมาย ร้อยละ 59
- ร้อยละของบุคลากรสายวิชาการได้รับการพัฒนา เป้าหมายร้อยละ 80
- ร้อยละของบุคลากรสายสนับสนุนได้รับการพัฒนา เป้าหมายร้อยละ 80
รายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากร คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
ประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรม สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
- ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานอื่นในสถาบันอุดมศึกษา
- ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2566
- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาลและจริยธรรม
- แนวทางการปฏิบัติงานด้านจริยธรรม (Do’s & Don’ts) ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- รายงานผลการนำการประเมินจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล
- รายงานผลการบริหารและพัฒนางานบุคคลประจำปี 2566